Congratulations to Asst.Prof.Dr.Nattapon Mahavik Published in International Journal

Congratulations to Asst.Prof.Dr.Nattapon Mahavik
Published in International Journal on SCOPUS
link https://doi.org/10.35762/AER.2023026

📌 ติดตาม – ข่าวสารกองการวิจัยและนวัตกรรม ม.นเรศวร: https://linktr.ee/dri_nu
#DRI_NU
#NUResearchandInnovation
#NUPublication2023

Loading

นักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมจัดแสดงในงานประชุมวิชาการและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร

3 นักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย ได้เข้าร่วมจัดแสดงในงานประชุมวิชาการและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” Agritech and Innovation Moving Forward from Local to Global ระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2566 ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
Food & Beverage
>>โซน ผลงานวิจัยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลของการฉายรังสีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว มะม่วงมหาชนกและส้มโอเพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา”
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท
>>โซน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
ผลงานวิจัยเรื่อง โครงการนวัตกรรมการผลิตผักกินใบโภชนาการสูงด้วยเทคโนโลยีแสงแอลอีดี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
Agritechnology
ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบเตือนภัยน้ำท่วมสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำ กรณีศึกษาโครงการบางระกำโมเดล”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย
CR. DRI Naresuan University

Loading

อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ฯ คิดค้น“สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide)” จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

     เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ดร.ณิชากร คอนดี อาจารย์ประจำภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะผู้วิจัย ได้ร่วมแถลงความสำเร็จการคิดค้น “สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide)” จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยแบคทีเรีย ปลอดสารพิษ ลดการตกค้าง มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักสากล SDGs พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำงานร่วมกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรมาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อพัฒนาการนำวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรและผลพลอยได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตร เช่น กากสับปะรด กากถั่วเหลือง เปลือกทุเรียน กากมะพร้าว กากบีบน้ำมันมะพร้าว กากบีบน้ำมันรำข้าว เป็นต้น มาใช้เป็นแหล่งอาหารและพลังงานให้กับแบคทีเรียผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนตาม SDGs รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emissions) โดยการลดปริมาณของเสียอันตรายและวัสดุเหลือทิ้งที่ถูกส่งไปเผากำจัดหรือฝังกลบ พร้อมกับส่งเสริมการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมาใช้แทนที่สารเคมีที่อันตราย คือ “สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide)” ที่มีความปลอดภัยทั้งต่อทั้งผู้ใช้งานและผู้บริโภค และย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อม ส่วนผสมหลักที่ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืชชีวภาพจะได้จากกระบวนการหมักวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรและผลพลอยได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรร่วมกับแบคทีเรีย ซึ่งมีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ดร.ณิชากร คอนดี อาจารย์ประจำภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ทางคณะผู้วิจัย สามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชได้เทียบเท่าสารกำจัดวัชพืชเคมีในตลาด ผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืชชีวภาพจะอยู่ในรูปสารละลายของไมโครอิมัลชันที่มีสารสำคัญต่าง ๆ จะถูกห่อหุ้มให้คงอยู่ในสารละลายได้ในระดับนาโน ผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืชชีวภาพที่พัฒนาได้ จะช่วยลดมุมสัมผัสเมื่อหยดบนใบวัชพืชจึงแผ่บนใบวัชพืชได้ทั่วถึง ลดการกระดอนออกจากใบพืชหลังพ่นได้ ทำให้เกาะติดกับใบวัชพืชได้ดี และซึมผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อใบวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สามารถออกฤทธิ์ในการกำจัดและลดการเจริญเติบโตของวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานภายใต้สภาวะที่วิกฤติของพีเอช อุณหภูมิ และความเค็มสูงได้ เนื่องจากแบคทีเรียมีความหลากหลายสายพันธุ์มากทำให้ได้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่มีคุณสมบัติเด่นที่หลากหลาย การเพาะเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพยังใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่นเพราะแบคทีเรียมีอัตราการเจริญสูง และแบคทีเรียสามารถเจริญในอาหารที่หลากหลายสามารถใช้ของเสียจากการเกษตรกรรมเองและผลพลอยได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรที่มีต้นทุนต่ำมาเป็นแหล่งสารตั้งต้นของการหมักเพื่อผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแบคทีเรียได้ สารลดแรงตึงผิวในสารจับใบที่ขายในท้องตลาดส่วนใหญ่อาจสังเคราะห์จากปิโตรเลียมหรือสกัดด้วยวิธีทางเคมีจากพืช มีความเสี่ยงจากความเป็นพิษและการตกค้างได้ รวมทั้งถือว่าไม่เป็นทำการทำเกษตรอินทรีย์อย่างสมบูรณ์

พิษณุโลกฮอตนิวส์
เดลินิวส์ออนไลน์
สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย
ที่นี่..เมืองสองแคว/พิโลก
หนังสือพิมพ์ดาวใต้นิวส์ออนไลน์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย 58 ปี
ไทยนิวส์
ทั่วไทยนิวส์
ไทยโซเฟียนิวส์
หนังสือพิมพ์ ๔ เหล่าทัพ
นสพ.สยามโฟกัสไทม์
cr. ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพิมพ์ณพัทธ์ พ่วงกระทุ่ม งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Loading

แนะนำหนังสือใหม่ “ชีววิทยาของยีสต์ และการประยุกต์ใช้ ทางเทคโนโลยีชีวภาพ” โดย ผศ.ดร.พงศนาถ ผ่องเจริญ

Loading

ผลิตภัณฑ์ “ISO-PAUSE, soft creamy tempeh” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (Second runner up)

🎉🎉คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ 🧈 ผลิตภัณฑ์ “ISO-PAUSE, soft creamy tempeh”
🔥 ในโอกาสได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (Second runner up) ประเภท General public
🎀 ผลงานของอาจารย์และนิสิตภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
✅ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทองสุข หัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
✅ นางสาวจิรัชยา จัดพล นิสิตระดับปริญญาเอก
✅ นายวราเทพ บัวสุ่ม นิสิตระดับปริญญาโท
✅ นางสาวกัลยรัตน์ บานแย้ม นิสิตระดับปริญญาโท
✅ นางสาวณัฏฐ์ชานันท์ รักธัญญาการ นิสิตระดับปริญญาตรี
🔰 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษศาสตร์ฯ และผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไขมันและน้ำมัน อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
💢 จากการแข่งขัน ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023 ประเภทบุคคลทั่วไป (General Public) ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Queen’s University Belfast (QUB) สหราชอาณาจักร ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านความมั่นคงทางอาหาร (IJC-FOODSEC)
จัดขึ้นเมื่อที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
🛑 ISO-PUASE ผลิตภัณฑ์พร้อมทานจากเทมเป้ในรูปแบบ soft cream อุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ที่สามารถทำงานทดแทนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดย ISO-PAUSE เพียง 1 ซอง (25 g) มี Isoflavones เทียบเท่ากับน้ำเต้าหู้ 1 แก้ว หรือเต้าหู้ 2 ก้อน และมีส่วนผสมของแคลเซียมและวิตามิน D (50% Thai RDI) โดยทั้ง Isoflavones แคลเซียม และวิตามิน D เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยพรีไบโอติกส์ (Prebiotic) จากธรรมชาติและสารอาหารต่างๆ ที่สามารถดูดซึมได้ง่ายซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการหมักเทมเป้อีกด้วย
🛑 ISO-PAUSE เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูพรุนทดแทนการบริโภคยาฮอร์โมน แคลเซียมและวิตามินแบบเม็ดได้ มีรสโยเกิร์ตและรสช็อกโกแลต เหมาะสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุและผู้รักสุขภาพ
❇️ การแข่งขัน ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023 เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความมั่นคงอาหาร ASEAN-ASSET 2023: Global Summit on The Future of Future Food ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคงของอาหารเพื่ออนาคต ซึ่งมุ่งเน้นขอบเขตอาหารในอนาคต ความปลอดภัยอาหารในอนาคต ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการศึกษาสำหรับอาหารในอนาคต และแนวโน้มปัจจุบันและอนาคตของอาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วทุกมุมโลก มากกว่า 400 คน และมีผู้นำเสนอผลงานมากถึงจำนวน 36 เรื่อง ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการ นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืน
Cr.ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.nu.ac.th/?p=36790

Loading

อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ฯ ได้รับรางวัล”Best poster presentation” การประชุมวิชาการ GIS-IDEAS 2023

🎉🎉 คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ
💥 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต และอาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
🏆 ในโอกาสได้รับรางวัล “Best poster presentation"
.
✅ การประชุมวิชาการ GIS-IDEAS 2023
Ha Noi University of Natural Resources and Environment
ประเทศเวียดนาม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2566
.
💠 ชื่อผลงาน : OPTIMIZING BROILER HOUSE MANAGEMENT TO REDUCE COSTS AND REDUCE LOSSES WITH THE INTERNET OF THINGS TECHNOLOGY AND WIRELESS SENSOR NETWORK

Loading

นิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ”เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M)ครั้งที่11″

     คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับนิสิต ในโอกาสได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการเข้าร่วมแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11” ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดย อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU SciPark)

     ผลงาน “PAWER UP อาหารสุขภาพจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับสุนัข”

     สมาชิกภายในทีมประกอบด้วย

  1. นางสาวชญาณิศ ศรีงาม นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  2. นางสาวนฤมล โตสุข นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  3. นางสาววาสนา พุทธรักษา นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  4. นางสาวปัณฑารีย์ ภู่ดัด นิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

     อาจารย์ที่ปรึกษา

  • ผศ.ดร.สนธยา นุ่มท้วม อาจารย์สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์
  • ดร.เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ในกิจกรรมการแข่งขันนี้ มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอความเป็นไปได้ทางธุรกิจ จำนวน 14 ทีม โดยได้คัดเลือกเพียง 3 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าร่วมการแข่งขันรอบระดับภูมิภาค ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในเดือนพฤศจิกายน 2566
Cr.Facebook NU SciPark

Loading

ได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” การประกวดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ครั้งที่ 5

อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ฯ ได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” การประกวดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ครั้งที่ 5 ผลิตภัณฑ์ประเภทส่วนผสมอาหาร ประเภท SMEs Startup

คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา รุตรัตนมงคล อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
ในโอกาสได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” การประกวดนวัตกรรม
ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ครั้งที่ 5
ผลิตภัณฑ์ประเภทส่วนผสมอาหาร ประเภท SMEs Startup
รับโล่รางวัล และเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท
ภายในงาน “Food Ingredients Asia 2023”
วันที่ 20 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

Loading

รับรางวัล รางวัลนวัตกรรม “ดี” การประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย ปี 2566 ประเภทชุมชน หรือองค์กร

อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ฯ รับรางวัล รางวัลนวัตกรรม “ดี” การประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย ปี 2566 ประเภทชุมชน หรือองค์กร

      คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ
      รองศาสตราจารย์ ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
      ในโอกาสได้รับรางวัล รางวัลนวัตกรรม “ดี” การประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย ปี 2566 ประเภทชุมชน หรือองค์กร
      รับโล่รางวัลของประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล จำนวน 40,000 บาท

      ชื่อผลงาน ให้ ห้าม หวง : การจัดการบึงบอระเพ็ดด้วยกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
      จัดงานระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2566 ณ อาคารรัฐสภา

Loading

นิสิตระดับปริญญาโท ได้รับทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปี2566

นิสิตระดับปริญญาโท ได้รับทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปีงบประมาณ 2566

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร

ขอแสดงความยินดี

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตระดับปริญญาโทรในโอกาสรับ

ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปีงบประมาณ 2566

” นางสาวนฤมล โตสุข “

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร


ได้รับทุน
“โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปีงบประมาณ 2566

อาจารย์ที่ปรึกษา

ดร.เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง


Bensodiazepiner är ordinerade för ångesttillstånd, konvulsioner. Komponenterna i dessa läkemedel påverkar minnet av information negativt. Denna grupp av droger apotekeett.com används kortsiktigt för att undvika negativa konsekvenser.

»ประกาศผลการพิจารณาโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปีงบประมาณ 2566

https://nriis.go.th/www/NewsEventDetail.aspx?nid=11761

Loading